‘เวียดนาม’ อนุมัติแผนโครงการพัฒนาข้าวคุณภาพสูงและปล่อยคาร์บอนต่ำ มูลค่า 375 ล้านเหรียญฯ

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) รายงานว่ามีแผนที่จะดำเนินการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเพาะปลูกข้าวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยโครงการนี้ริเริ่มมาจากรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนานาข้าวคาร์บอนต่ำและมีคุณภาพสูง และจะเริ่มดำเนินการใน 12 จังหวัดภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2569-2574

ทั้งนี้ Nguyen Thế Hinh รองหัวหน้าคณะกรรมการบริหารโครงการ กล่าวว่าค่าใช้จ่ายของโครงการดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 375 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินกับธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) และจากรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยผ่านการพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกรและสหกรณ์ ในขณะเดียวกันก็ระดมทรัพยากรสินเชื่อสำหรับพื้นที่ที่ใช้แนวปฏิบัติคาร์บอนต่ำ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1652331/375-mln-fund-to-boost-high-quality-low-carbon-rice-production.html

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าส่งออกมะพร้าว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายกาว บา ดัง ควา รองเลขาธิการสมาคมมะพร้าวเวียดนาม (VCA) ระบุว่ามะพร้าวนับเป็นแหล่งรายได้ให้กับกลุ่มครัวเรือนเกษตรกร ประมาณ 390,000 ครัวเรือน และหากพิจารณาตัวเลขของมูลค่าการส่งออกมะพร้าวเมื่อปี 2552 พบว่าทำรายได้จากการส่งออกเพียง 1 แสนดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่ว่าตัวเลขของการส่งออกดังกล่าวได้ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 940 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 ด้วยเหตุนี้ จากการประชุมของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 28 ต.ค. มีมติที่ประชุมให้ตั้งเป้าการส่งออกมะพร้าวต่อปี อยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ มะพร้าวของเวียดนามยังได้รับการอนุมัติให้ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และบางประเทศในยุโรป

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnams-coconut-sector-aims-for-export-revenue-of-1-billion-usd-post130737.html

‘เมียนมา’ เผยราคาอ้อยพุ่งตามความต้องการของตลาดในประเทศ

จากคำประกาศของโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง กล่าวว่าได้เข้าซื้ออ้อย 1 ตันในราคา 120,000 จ๊าตต่อวิสส์ เมื่อวันที่ 3 ต.ค. และยังซื้ออ้อยต่อวัน อยู่ที่ 6,500 ตัน หรือ 7,000 ตัน นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลยังส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกอ้อมมากขึ้น เนื่องจากโรงงานมีแผนที่จะขยายพื้นที่มากกว่า 2 ยูนิต โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตน้ำตาล ด้วยกำลังการผลิต 7,500 ตันต่อวันในปีการเงิน 2567-2568 และเพิ่มกำลังการผลิต 12,000 ตันต่อวันในปีการเงิน 2568-2569 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำตาลในตลาดโลก เดือน ก.ค. อยู่ที่ 650 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปรับตัวลดลง 700 ดอลลาร์สหรัฐในเดือน มิ.ย.

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugarcane-price-set-to-rise-as-local-demand-surge/#article-title

อินโดนีเซียเล็งนำเข้าข้าวกัมพูชา

Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ให้คำมั่นสัญญากับนายกรัฐมนตรี Hun Sen เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (11 ส.ค.) ถึงการนำเข้าข้าวจากกัมพูชาเพื่อยกระดับการค้าทวิภาคี โดยทางอินโดนีเซียจะส่งคณะผู้แทนเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำเข้าข้าวจากกัมพูชา ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลกัมพูชาและอินโดนีเซียเคยได้ลงนามในข้อตกลงการซื้อข้าวระหว่างกันในปี 2012 เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้สรุปโควตาปริมาณการส่งออกและประเภทของข้าว

ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ชื่นชมความเคลื่อนไหวดังกล่าว โดยเรียกร้องให้อินโดนีเซียลงทุนในภาคอุตสาหกรรมข้าวในกัมพูชา ซึ่งนักลงทุนอินโดนีเซียสามารถถือครองสัดส่วนการลงทุนได้สูงถึงร้อยละ 100 ในการจัดตั้งโรงสี โกดัง และเครือข่ายรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงในการส่งออก สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปีกัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังตลาดต่างประเทศกว่า 329,633 ตัน ไปยัง 52 ประเทศทั่วโลก โดยเน้นการส่งออกไปที่ข้าวหอมพรีเมียม ข้าวหอม ข้าวขาวเมล็ดยาว ข้าวนึ่ง และข้าวอินทรีย์ สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 229 ล้านดอลลาร์ รายงานโดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ซึ่งในขณะเดียวกันกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือก ณ ชายแดนประเทศกว่า 2.2 ล้านตัน สร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 578 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501342422/indonesia-eyes-cambodian-rice-imports/

กรมเจรจาฯ ลุยต่อช่วยเกษตรกร-ผู้ประกอบการ รับมือเปิดตลาดนมภายใต้ FTA

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ดำเนินโครงการ “โคนมไทยก้าวไกลขยายตลาดส่งออกได้ด้วย FTA” มาอย่างต่อเนื่อง โดยทำงานร่วมกับกรมปศุสัตว์ ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรกรโคนม และผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมสินค้านมโคแปรรูปและผลิตภัณฑ์นมของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าเสรี และเตรียมรับมือการเปิดตลาดนมภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยเฉพาะ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ รวมทั้งการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศคู่ FTA โดยเฉพาะอาเซียน จีน และฮ่องกง ที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมจากไทยแล้ว สำหรับแนวทางในการรับมือ กรมฯ ได้ลงพื้นที่ไปให้ความรู้ในการปรับตัว ช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้ได้มาตรฐานส่งออก ช่วยจับคู่ธุรกิจให้กับสหกรณ์โคนมและผู้ประกอบการนมโคและแปรรูปของไทยในการหาตลาดรองรับน้ำนมดิบอย่างยั่งยืน และช่วยหาตลาดส่งออก โดยเฉพาะประเทศที่มีการทำ FTA กับไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ สามารถส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2565 ไทยส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ในตลาดโลก โดยไทยส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมสู่ตลาดโลก มูลค่า 593.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.78% และในช่วง 3 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-มี.ค.) ไทยส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมสู่ตลาดโลกมูลค่า 153.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จีน มีส่วนแบ่งตลาด 5% และฮ่องกง มีส่วนแบ่งตลาด 5%

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9660000049989

เกาหลีใต้ มอบเงินให้แก่ สปป.ลาว ในการพัฒนาชนบททางตอนใต้

เกาหลีใต้มอบเงินทุนสนับสนุน สปป.ลาว รวมมูลค่าประมาณ 9.4 ล้านดอลลาร์ เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตชนบท 3 จังหวัด ทางตอนใต้ของ สปป.ลาว โดยมีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรในชนบทและในเมือง ซึ่งโครงการนี้กำหนดเป้าหมายในหมู่บ้านนำร่องที่ได้รับการคัดเลือก 20 แห่ง ผ่านโครงการย่อย 5 โครงการ ที่มุ่งพัฒนาให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น และโครงการย่อยอีก 6 โครงการ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพในหมู่บ้านเป้าหมาย เช่น ถนนหนทาง ระบบชลประทาน ระบบน้ำประปา เป็นสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี (KOICA) และกระทรวงเกษตรและป่าไม้ ได้จัดพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการที่อำเภอปากซอง ในจังหวัดจำปาสัก

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten101_Korea_to_y23.php

เกาหลีใต้พร้อมสนับสนุน สปป.ลาว ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์ปีกภายในประเทศ

บริษัท Greengoods จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ พร้อมให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ปีกใน สปป.ลาว โดยการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตและการแปรรูปปศุสัตว์ใน สปป.ลาว ให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเหตุการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ณ วิทยาเขตคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สปป.ลาว จัดโดยสำนักงานส่งเสริมการลงทุนการค้าเกาหลี (KOTRA) ในนครหลวงเวียงจันทน์ ผ่านโครงการ ESG+ ระดับโลกของ KOTRA ถือเป็นโครงการ ESG+ โครงการแรกที่ริเริ่มใน สปป.ลาว ในปีนี้ ด้วยการบริจาคอุปกรณ์ฆ่าสัตว์ปีกและแปรรูปมูลค่า 88,308 ดอลลาร์ ในเฟสแรก ซึ่งการบริจาคมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและให้เกษตรกรได้ฝึกฝนใช้เทคโนโลยีการแปรรูปปศุสัตว์จากประเทศเกาหลี รวมถึงหวังว่าจะช่วยให้เกษตรกรและชาวบ้านสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อ และท้ายที่สุดคือรายได้ของเกษตรกรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten91_S_Korea_y23.php

กัมพูชาได้รับการอนุมัติในการส่งออกพริกไทยไปยังจีน

สำนักงานศุลกากรจีน (GACC) อนุมัติข้อเสนอการส่งออกพริกไทยของกัมพูชาไปยังจีน โดยได้อนุมัติโรงงานผลิตพริกไทยในกัมพูชา 7 แห่ง รวมถึงฟาร์มพริกไทยที่ได้จดทะเบียนในการเพาะปลูก 28 แห่ง สำหรับการส่งออกพริกไทยไปยังจีน ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยในประเทศคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการอนุมัติในครั้งนี้ โดยจะช่วยเพิ่มการผลิตและการกระจายตลาดไปยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งพริกไทยถือเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง เนื่องจากเป็นเครื่องเทศชนิดแรกของกัมพูชาที่ได้รับการอนุมัติให้ส่งออกโดยตรงไปยังจีนในปีนี้ อย่างไรก็ตาม สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ได้ระบุว่าการส่งออกสินค้าครั้งแรกจากกัมพูชาจะเกิดขึ้นเมื่อใด โดยตั้งแต่ต้นปี 2022 กัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 6,000 เฮกตาร์ ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ยปีละ 20,000 ถึง 30,000 ตัน ขณะที่รายงานระบุว่ากัมพูชาส่งออกพริกไทยไปยังต่างประเทศจำนวนกว่า 822,654 ตัน ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ด้านสมาพันธ์พริกไทยและเครื่องเทศกัมพูชา กล่าวว่า ราคาพริกไทยในปัจจุบันอยู่ระหว่าง 3,000-3,500 ดอลลาร์ต่อตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501290261/cambodian-pepper-gets-china-approval-for-direct-exports/

“เมียนมา” เผยราคาเมล็ดมัสตาร์ดสูงขึ้นในตลาดมัณฑะเลย์

คุณ U Soe Win Myint เจ้าของศูนย์ค้าส่งในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยว่าราคาเมล็ดมัสตาร์ด (Mustard Seeds) ในปีที่แล้ว อยู่ที่ 3,200 จั๊ตต่อ Viss แต่ในปัจจุบันราคาขยับเพิ่มสูงขึ้นที่ 5,100 จั๊ตต่อ Viss และการค้าขายเป็นไปได้ด้วยดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากประเทศอินเดียเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้เกษตรกรชาวเมียนมาจึงควรขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินเขา นอกจากนี้ การเพาะปลูกเมล็ดมัสตาร์ดส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคใต้ของรัฐฉาน รัฐกะฉิ่น รัฐกะยาและภาคซะไกง์ตอนบน จากนั้นจะถูกขายไปยังตลาดมัณฑะเลย์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mustard-seed-fetching-higher-prices-marketable-in-mandalay/#article-title

ไพรแวก ถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่สามารถผลิตข้าวได้เป็นอันดับต้นๆ ของกัมพูชา

ไพรแวก ถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่สามารถผลิตข้าวได้เป็นอันดับต้นๆ ของกัมพูชา โดยเฉพาะเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ กล่าวโดย Chea Somethy ผู้ว่าการจังหวัดไพรแวง จากข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจังหวัดไพรแวกสามารถผลิตข้าวเปลือกได้มากกว่า 7 ล้านตัน หรือเฉลี่ยมากกว่า 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งหลังหักจากการบริโภคภายในจังหวัดแล้ว พบว่ามีข้าวเปลือกส่วนเกินกว่า 5 ล้านตัน และได้ทำการกระจายไปยังตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้ประมาณกว่า 1,250 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบัน Ouk Samnang ผู้อำนวยการกรมวิชาการเกษตร ป่าไม้ และประมงจังหวัดไพรแวง กล่าวเสริมว่า การขยายตัวของผลผลิตข้าวในจังหวัดมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการชลประทาน จนทำให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้หลายครั้งต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501261721/prey-veng-the-biggest-rice-producer-in-cambodia/