อุตฯ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม มีแนวโน้มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 65

แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มของเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจอาจจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ในขณะที่สถานการณ์จะกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติในช่วงสิ้นปี 2566 บริษัท Vietnam National Garment and Textile Group (Vinatex) ผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มรายใหญ่ของเวียดนาม เผยว่าโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ากำลังทำงานอย่างเต็มกำลังจนถึงเดือนก.ค.และสิ.ค. ถือว่าเป็นสัญญาที่ดีของอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ธุรกิจดังกล่าว ได้ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออก 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่ากับช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด-19 นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) จากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของปี 2564 อุตสาหกรรมคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ โดยจะขยายไปยังตลาดอื่นๆ จากการใช้ประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เวียดนามร่วมลงนามไว้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-textile-and-apparel-industry-may-recover-in-2h-2022-316797.html

‘เวียดนาม’ ทะยานสู่ ‘เสือเศรษฐกิจแห่งเอเชีย’

โดย SME Go Inter I ธนาคารกรุงเทพ

‘เวียดนาม’ ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการจัดการได้ดีที่สุด และดูเหมือนว่าเศรษฐกิจเวียดนามที่ได้รับผลกระทบน้อย ทั้งกลับมาโตได้เร็วโดยในปี 2563 เติบโตอยู่ที่ 2.91% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 7% แต่ก็ถือว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ GDP โตสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่กำลังดิ่งเหว

ความสำเร็จในการควบคุมโรคอุบัติใหม่ครั้งนี้ คุณธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศเวียดนาม วิเคราะห์ว่า เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์การทำงานของรัฐบาลเวียดนามที่แก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก ทำให้เวียดนามเนื้อหอมสุดๆ ในยามนี้ ที่ทุกประเทศต่างหันหัวรบเข้าไปลงทุนด้วยมากที่สุด และที่สำคัญประเทศเวียดนามไม่ใช่คู่ขัดแย้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริการกับจีนเกี่ยวกับเก็บภาษีศุลกากร ทำให้นักลงทุนนานาชาติโยกย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปทั่วโลกได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค

ดังนั้นเมื่อมองภาพรวมประเทศเวียดนามหลังจากผ่านพ้นโรคโควิด คุณธาราบดี จึงยกให้ประเทศเวียดนามเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และมีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวเพราะความมีเสถียรภาพทางการเมือง เข็มทิศพัฒนาประเทศมีเป้าหมายชัดเจน ที่รัฐบาลเวียดนามเร่งผลักดันการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจคู่ขนาน เพื่อความก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ โดยพร้อมให้การสนับสนุนการลงทุนทุกมิติจากต่างประเทศให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันรัฐบาลเวียดนามยังได้ทำข้อตกลงการค้าทั่วโลก ไม่ว่าจะทำข้อตกลง FTA กับยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงเข้าร่วมใน ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP (Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership) ซึ่งทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก สร้างความได้เปรียบให้กับประเทศเวียดนามอย่างมาก

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-asian-economic-tiger

‘กรมเจรจาฯ’ ลงใต้หนุนสินค้าช้างเผือกปัตตานี ใช้ประโยชน์จาก FTA เจาะตลาดอาเซียน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี พบผู้ประกอบการสินค้าศักยภาพ ทั้งประมงพื้นบ้าน ทอผ้า และเลี้ยงปลาสลิด แนะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับสินค้าเฉพาะถิ่น ชี้! โอกาสเจาะตลาดอาเซียนสูง โดยเฉพาะประเทศแถบชายแดนใต้ อย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย พร้อมชี้ช่องใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายส่งออกเพิ่มเพื่อเพิ่มแต้มต่อทางการค้าและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าไทย การลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้ทราบถึงความสามารถในการผลิตสินค้าท้องถิ่นที่มีศักยภาพ โดยกรมฯ ได้ให้ข้อมูลและองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ทั้งเรื่องกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ การจัดทำแผนธุรกิจ การตลาด และด้านบุคลากร พร้อมทั้งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการท้องถิ่นให้มีมาตรฐานเทียบเคียงต่างประเทศ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3208192

เวียดนามเผยราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่

ตามรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่ อยู่ที่ 567 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคายังคงปรับตัวสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค อาทิ ไทย อินเดียและปากีสถาน สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาข้าวขาวหัก 5% ส่งออกของเวียดนาม อยู่ที่ราว 513-517 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาข้าวขาวหัก 25% อยู่ที่ราว 488-492 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับข้าวประเภทเดียวกัน พบว่าราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทย 5-7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และแพงกว่าทั้งอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมมองว่าข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวของเวียดนาม ตลอดจนผลบังคับใช้ของข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามรุกตลาดยุโรป นอกจากนี้ นาย Dao The Anh รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร กล่าวว่าในปีนี้ จะเห็นแนวโน้มการเติบโตของการส่งออกข้าวในทิศทางที่ดี ทั้งในแง่ของมูลค่าและขีดความสามารถที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-records-new-price-peak-841926.vov

“พาณิชย์” เร่งตั้งกองทุน FTA ช่วยเอกชนจากเปิดเสรีการค้า

คณะทำงานพัฒนากองทุนฯ เห็นชอบตั้ง “กองทุนเอฟทีเอ” มอบกรมเจรจาฯ เร่งสรุปแหล่งรายได้ก่อนเสนอ “จุรินทร์” พิจารณา ก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดตั้งกองทุนตามกฎหมายต่อไป นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล กระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ครั้งที่ 1/2564 ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเข้าร่วม ว่า คณะทำงานฯ ได้พิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ ก่อนที่จะนำเสนอนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณา สำหรับข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดตั้ง กำหนดให้ความช่วยเหลือจากกองทุน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบเงินจ่ายขาด เช่น ทุนวิจัยพัฒนา ทุนจัดหาที่ปรึกษา ทุนฝึกอบรม ทุนจัดกิจกรรมสนับสนุนการตลาด และรูปแบบเงินหมุนเวียน เช่น เงินลงทุนในสิ่งก่อสร้าง และค่าเครื่องมืออุปกรณ์ และในส่วนการดำเนินงาน มีข้อเสนอว่า กองทุนควรให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตร ภาควิชาการ และธนาคารของรัฐ ในระดับพื้นที่ เป็นตัวกลางสำหรับประสานงานและเสนอคำขอรับความช่วยเหลือไปยังหน่วยบริหารกองทุนเอฟทีเอ ส่วนประเด็นเกี่ยวกับแหล่งรายได้เข้ากองทุนเอฟทีเอ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เสนอว่า นอกจากเงินสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว กองทุนควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ได้ประโยชน์จากเอฟทีเอสมทบเข้ากองทุนเพิ่มเติม เพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน  ทั้งนี้ แนวคิดในการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ เพราะมีเสียงเรียกร้องจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคเกษตร ที่ขอให้มีกลไกช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอ ให้สามารถปรับตัวรับมือกับการแข่งขันในตลาดการค้าเสรี อีกทั้งยังเป็นข้อแนะนำจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลง CPTPP ของรัฐสภา ที่เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอด้วย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/471345

“พาณิชย์” เผย “ทุเรียน-ถุงมือยาง” แชมป์ใช้สิทธิ์ FTA-GSP ปี 63

กรมการค้าต่างประเทศเผยยอดใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าปี 63 มีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 10.46% ตามการส่งออกที่ชะลอตัว เผย “ทุเรียนสด” นำโด่งใช้ FTA “ถุงมือยาง” นำใช้สิทธิ์ GSP คาดปี 64 ยอดใช้สิทธิ์เพิ่มตามการฟื้นตัวของการส่งออก และการพัฒนางานบริการให้ยื่นขอใช้สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในปี 2563 ที่ผ่านมามีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.46% ซึ่งเป็นไปตามการส่งออกในภาพรวมที่ปรับตัวลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.06% ของสินค้าที่ได้สิทธิประโยชน์ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการใช้สิทธิภายใต้ FTA มูลค่า 58,077.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.41% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.53% และการใช้สิทธิภายใต้ GSP มูลค่า 4,261.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.03% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 70.12%

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000018374

พาณิชย์เผยกัมพูชาปิดท้ายร่วม FTA อาเซียน-ฮ่องกงมีผลครบทุกชาติ 12 ก.พ.

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – ฮ่องกง (ASEAN – Hong Kong Free Trade Agreement : AHKFTA) มีผลบังคับใช้ระหว่างฮ่องกงและประเทศสมาชิกอาเซียนบางส่วน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 โดยกัมพูชา เป็นประเทศเดียวในปัจจุบันที่ยังไม่ได้มีผลบังคับใช้ จึงได้แจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนว่าพร้อมที่จะเริ่มใช้ความตกลง AHKFTA แล้ว ซึ่งการดำเนินการของกัมพูชา จะส่งผลให้ความตกลง AHKFTA มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์กับทุกประเทศสมาชิก ตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.นี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันฮ่องกงเป็นคู่ค้าอันดับ 8 ของไทย โดยในปี 2563 การค้าระหว่างไทยกับฮ่องกง มีมูลค่า 13,298 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออก มูลค่า 11,292 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยนำเข้า มูลค่า 2,006 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ อากาศยาน ยานอวกาศและส่วนประกอบ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ และข้าว สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เครื่องเพชรพลอย เงินแท่งและทองคำ ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/64964

การเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างกัมพูชากับเกาหลีใต้ได้สิ้นสุดลงแล้ว

กัมพูชาและเกาหลีใต้ได้สรุปการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) แล้ว โดยจะมีการลงนามในสนธิสัญญาขั้นสุดท้ายในปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับที่ 2 ที่กัมพูชาได้ทำในรูปแบบทวิภาคีกับคู่ค้าหลัก โดย FTA ทวิภาคีครั้งแรกกัมพูชาได้ลงนามกับประเทศจีน ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงถึง 884 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนธันวาคม 2020 ถึงแม่จะลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบเป็นรายปีตามตัวเลขของสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2020 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปเกาหลีใต้ 317 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งกัมพูชาได้นำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 567 ล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งการประกาศข้อสรุปของการเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างสองชาติจัดขึ้นที่โรงแรม โซฟิเทล พนมเปญ โดยกระทรวงพาณิชย์ (MoC)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50810013/kingdoms-free-trade-pact-talks-with-south-korea-concluded/

นักลงทุนมองข้อตกลงการค้าเสรี คือส่วนสำคัญด้านการค้าของกัมพูชา

นักลงทุนต่างชาติและผู้ประเมินเครดิตอิสระต่างสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในกัมพูชาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งที่เสร็จสมบูรณ์และกำลังดำเนินการโดยรัฐบาลของกัมพูชา ตามการบรรยายของ ASEAN Briefing (AB) โดยกล่าวว่า FTAs อาจทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกภายในปี 2030 ซึ่งประกอบไปด้วยตลาดผู้บริโภคที่มีมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์ ขับเคลื่อนโดยแนวโน้มด้านประชากรที่แข็งแกร่ง เช่น ร้อยละ 65 ของประชากรอาเซียนจำนวน 600 ล้านคน อยู่ในสถานะชนชั้นกลาง สะท้อนถึงกำลังซื้อของประชากร รวมถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในภูมิภาค ระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าทางดิจิทัล อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา กล่าวว่าข้อตกลงพหุภาคีและทวิภาคีจะมีความสำคัญต่อกัมพูชาในอนาคตอันใกล้ ในด้านของการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50809206/regional-free-trade-deals-key-to-cambodian-and-asean-success/

PPSEZ ส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน เพิ่มขึ้นในปี 2020

การส่งออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) ภายใต้ FTA อาเซียน – สหภาพยุโรป และโครงการ GSP / MFN (Generalized System of Preferences / Most-Favored Nation) ของสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ประมาณ 507 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า และสินค้าสำหรับการเดินทาง ไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น คิดเป็นการส่งออกเสื้อผ้ารวม 20.34 ล้านดอลลาร์ สินค้าที่เกี่ยวกับการเดินทาง 4.637 ล้านดอลลาร์ และรองเท้าคิดเป็นมูลค่า 826,504 ดอลลาร์ ไปจนถึงหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คิดเป็น 481.68 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในปีนี้จะขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ COVID-19 นั้นจะอยู่ในทิศทางใด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805264/ppsez-exports-to-us-eu-and-asean-up-substantially-in-2020/