DITP ชี้ตลาดฮาลาลบูม พร้อมแสดงศักยภาพ ยกระดับฮาลาลไทย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัด Thai Halal Pavilion เปิดโอกาสทางธุรกิจ สร้างโอกาสทางการค้า แสดงศักยภาพอาหารฮาลาลไทย ผสานนวัตกรรม ก้าวสู่ตลาดโลก ดัน Soft Power อาหารไทย ใน THAIFEX-Anuga Asia 2024 นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออก ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC) 6,246.13 ล้านบาท โดยไทยส่งออกสินค้าอาหารฮาลาล เป็นอันดับที่ 11 ของโลก อย่างไรก็ตาม อาหารฮาลาลของไทยยังมีโอกาสเติบโตได้เพิ่มขึ้น จากจุดแข็งด้านคุณภาพ วัตถุดิบที่มีความหลากหลาย มีมาตรฐาน รสชาติดี เป็นที่นิยม และมีชื่อเสียงในตลาดโลก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จึงได้สนับสนุนและส่งเสริมอาหารฮาลาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้อาหารฮาลาลไทยขยายออกไปสู่ตลาดโลกมากขึ้น และได้กำหนดให้จัด Thai Halal Pavilion ขึ้นเพื่อแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลแบบครบวงจร สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งเป็นฐานการผลิตสินค้าฮาลาลที่สำคัญ ในงาน THAIFEX-Anuga Asia 2024 งานจัดแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้ารวมกว่า 3,000 บริษัท มากกว่า 6,000 คูหา จาก 50 ประเทศ ในปัจจุบันอาหารฮาลาลไทย ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจำนวนประชากรมุสลิมมีการขยายตัวสูง ประกอบกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่มิใช่มุสลิมก็ให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารปลอดภัย และมีความเชื่อมั่นในอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลของไทยที่มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานคุณภาพตามหลักการศาสนาบัญญัติอิสลาม

ที่มา : https://www.matichon.co.th/publicize/news_4596050

บริษัทสัญชาติไต้หวัน สนใจเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร และยานยนต์ กัมพูชา

Far East Trade Service Inc พนมเปญ (FETPP) บริษัทสัญชาติไต้หวัน ซึ่งดำเนินงานภายใต้บริษัท TAITRA กำลังสำรวจโอกาสในการขยายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และยานยนต์ ด้วยความช่วยเหลือจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ด้าน Suon Sophal รองเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุนกัมพูชา (CIB) ได้ร่วมสนทนากับ Chen I-Hua ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ FETPP โดย Sophal ชื่นชมความพยายามของรัฐบาลกัมพูชา (RGC) ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุนที่มุ่งสร้างกรอบกฎหมายที่เปิดกว้างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติตามความจำเป็น ตลอดจนการดำเนินการตามแผนงานสำหรับการพัฒนาภาคยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501430458/taiwan-firm-keen-to-invest-in-agri-food-automotive-sectors/

ผู้ประกอบการกัมพูชาคาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

สมาคมนักลงทุนนวัตกรรมและการพัฒนา (IDI) กล่าวว่า ผู้ประกอบการและผู้ผลิตชาวกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารแปรรูปไปยังตลาดสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น หลังผู้ประกอบการกว่า 90 ราย ได้ไปเยือนยังสหรัฐฯ เพื่อสำรวจโอกาสในการหาพันธมิตร เรียนรู้การปฏิบัติตามกฎหมายและขั้นตอนการส่งออก ตลอดจนทำความเข้าใจด้านโอกาสและความท้าทายในการส่งออกผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ โดยการเยือนครั้งนี้จัดขึ้นโดย Innovations and Development Investors Association (IDI) ภายใต้ความร่วมมือกับหอการค้ากัมพูชาในแคลิฟอร์เนีย (AmCham) และผู้ประกอบการกัมพูชา สำหรับตลาดสหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชา คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาที่มูลค่า 6.8 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 9 เดือนแรก ลดลงร้อยละ 2.1 จาก 7 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตทั่วไป (GDCE)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501398041/cambodia-entrepreneurs-foresee-rise-in-exports-of-agri-food-products-to-us/

ประชาชนสปป.ลาวกว่า 1 ล้านคน เผชิญปัญหาความไม่มั่งคงทางอาหาร

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) รายงานว่าประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน ต้องทนทุกข์จากความไม่มั่งคงทางอาหารอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดความกังวลต่อวิกฤตความมั่งคงทางอาหารในสปป.ลาว โดยประชาชนกว่า 1.04 ล้านคน (13.9% ของประชากรทั้งประเทศ) ได้รับการประเมินว่ามีความไม่มั่งคงทางอาหารอย่างเฉียบพลันอยู่ในระดับปานกลาง และคนกว่า 71,000 คน (0.9% ของประชากร) อยู่ในภาวะไม่มั่งคงทางอาหารเฉียบพลันขั้นรุนแรง สาเหตุของสถานการณ์ดังกล่าวมาจากราคาอาหารและเชื้อเพลิง ตลอดจนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน กำลังซื้อและรายได้ครัวเรือนที่ลดลงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติในปี 2565

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติประเทศลาว (LSB) ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้น และพุ่งขึ้นสู่ระดับ 41.3% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี เพิ่มขึ้นจาก 40.3% ในเดือน ม.ค.

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten56_Over_1_y23.php

อาเซียนเล็งดัน ‘ข้าว-อาหาร’ ขึ้นบัญชีสินค้าจำเป็น

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อรมน ทรัพย์ทวีธรรม ระบุ สมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการขยายบัญชีสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์ ที่เคยมีมติให้สมาชิกลดอุปสรรคการค้า และงดใช้มาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดด้านการไหลเวียนของสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงโควิด-19 ล่าสุดเห็นควรให้มีการเพิ่มรายการสินค้าจำเป็น เช่น ข้าว สินค้าเกษตร และอาหาร เพราะเป็นกลุ่มมีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ หากมีอุปสรรคในการค้าขายจะไม่เป็นผลดีต่ออาเซียน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/931258

เวียดนามได้รับอนุมัติให้ส่งออกอาหารที่ทำมาจากแมลงไปยังสหภาพยุโรป

กฎระเบียนคณะกรรมกรรมาธิการยุโรป “2021/171” เผยเวียดนามได้ให้หลักฐานและใบรับรองต่อกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ได้รับการอนุมัติทำการส่งออกแมลงไปยังตลาดยุโรปได้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ โดยก่อนหน้านั้นประเทศเวียดนาม แคนาดา  สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้และไทย ได้รับการอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแมลงได้ ในแง่อีกมุมหนึ่งอาหารที่ทำมาจากแมลงได้รับการขนามว่าเป็นอาหารแห่งอนาคต นอกจากนี้ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารเวียดนามในอนาคต

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-authorised-to-export-insectbased-food-to-eu/197735.vnp

อุตสาหกรรมอาหารเมียนมาพร้อมเข้าร่วมงาน Hong Kong’s Food Expo 2021

สภาพัฒนาการค้าฮ่องกงเชิญชวนให้ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเข้าร่วมงาน Hong Kong’s Food Expo 2021 ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 12 ถึง 16 สิงหาคม 64 ซึ่งเมียนมาคาดจะเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกอาหารและเชื่มโยงกับตลาดประเทๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มแล้วภายในงานยังจัดแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับแพคเกจจิ้ง ฉลากความปลอดภัย โลจิสติกส์ การบริการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งทางผู้จัดงานคาดว่าจะมีบริษัทเข้าร่วมจากประเทศต่างๆ เช่น จีน อินเดีย อิหร่าน ญี่ปุ่น คาซัคสถาน เกาหลี เม็กซิโก โปแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เป็นต้น สำนักงานสถานกงสุลใหญ่เมียนมาในฮ่องกงกล่าวว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับส่วนลด 50% ของค่าธรรมเนียมหรือ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ผู้ประกอบการเมียนมาที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://www.hktdc.com ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคมเป็นต้นไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/hong-kong-expo-reaches-out-myanmar-food-companies.html

กัมพูชาการลงนามบันทึกข้อตกลงด้านความปลอดภัยทางอาหาร

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ร่วมกับ TROPICAM Fruits and Vegetables และอีก 4 สมาคมในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม ร้านอาหาร การท่องเที่ยว ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อส่งเสริมการผลิตผักและผลไม้ที่ปลอดภัย โดยปีที่แล้วกัมพูชามีพื้นที่ปลูกผักและผลไม้ 57,262 เฮกตาร์ทั่วประเทศและผลิตอาหารได้ประมาณ 682,012 ตัน อย่างไรก็ตามความต้องการผักอยู่ที่ 1 ล้านตันต่อปี หรือ 2,500-3,000 ตันต่อวันตามรายงานของ General Directorate of Agriculture (GDA) ณ กระทรวงเกษตร เนื่องจากตอนนี้กัมพูชาไม่สามารถรองรับความต้องการพืชผักภายในประเทษได้ด้วยตนเอง จึงมีการนำเข้าโดยเฉลี่ย 500-1,000 ตันต่อวันเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้ GDA กำลังดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าของผักและผลไม้ปลอดสารพิษภายใต้ข้อตกลงของภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ผลิต เพื่อการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมและส่งเสริมผักและผลไม้ที่มีความปลอดภัยสูงภายใต้มาตรฐาน GAP ที่รับรองโดย GDA ของรัฐบาลเพื่อทำการรับรองมาตรฐาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773548/deal-signed-to-make-fruit-and-veg-safer/

ไทยดัน เจฮับ ยึดเทรนด์คนกินผักมูลค่า 5 แสนล้าน

กระทรวงเกษตร เร่งวางโรดแมปดันไทยเป็น “เจฮับ” โมเดลซิลิคอนวัลเลย์ผลิตอาหารแห่งอนาคตเจาะตลาด 4 พันล้านคน มูลค่า 5 แสนล้านบาท จับมือภาคเอกชนลุยส่งออก โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เพื่อสร้างโอกาสและศักยภาพใหม่ให้กับประเทศ ซึ่งอาหารแห่งอนาคตเป็นเป้าหมายสำคัญ กระทรวงเกษตรฯจึงให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรขับเคลื่อนโครงการพืชแห่งอนาคต เพื่อตอบสนองการผลิตอาหารแห่งอนาคต ที่มีแนวโน้มความต้องการของตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีอาหารที่ใช้โปรตีนจากพืชผลิตเป็นอาหารหรือเนื้อจากพืช หรือ อาหารเจ จะเป็นสินค้าเกษตรอาหารตัวใหม่ในการสร้างรายได้สร้างอาชีพและธุรกิจการเกษตรใหม่ๆ ให้กับภาคเกษตรและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารในยุคโควิดที่ผู้บริโภคทั่วโลกโดยเฉพาะในจีน อินเดีย ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐฯและยุโรป ต้องการอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นนับเป็น New Normal ในยุคโควิดเป็นเทรนด์การรับประทานอาหารแนวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก อีกทั้งข้อมูลของ FAO  คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของโลกเพิ่มขึ้น 30% ภายใน 15 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกรกอ. สศก. สวก.และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม หอการค้าไทยและกระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับกลุ่มบริษัทไทยผู้ผลิตอาหารเจภายใต้โมเดลเนื้อจากพืชจัดทำโรดแมปตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอนาคต หรือเรียกว่า ซิลิคอน วัลเลย์อาหารแห่งอนาคต

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/899252?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

การลงนาม ASSET เพื่อระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืนของสปป.ลาว

การลงนามข้อตกลงในการจัดหาเงินทุนของโครงการ Agroecology and Safe Food System Transitions (ASSET) เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ในเวียงจันทน์ จากความร่วมมือหลากหลายองค์กรระดับโลกและภูมิภาคไม่ว่าจะเป็น Group For Research and Technology Exchanges (GRET) และ French Agricultural Research and International Cooperation Organization (CIRAD) พันธมิตรระดับชาติยุโรปและนานาชาติ 27 ประเทศรวมถึงกระทรวงเกษตรของสปป.ลาว  โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ” agroecology” เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของระบบอาหารและการเกษตรไปสู่ระบบที่ยั่งยืนมากขึ้น ความโดดเด่นของโครงการ ASSET คือได้รับการออกแบบโดยใช้วิธีการแบบบูรณาการเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรและระบบอาหารที่หลากหลายผ่าน 3 ด้าน ได้แก่ ประการแรก เทคโนโลยี – เศรษฐกิจ,การเมือง,สังคม การบูรณาการทั้ง 3 ด้านจะทำให้เกิดการเปลี่ยนไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการของ AFD ปัจจุบันในบริบทที่เกิดวิกฤตการณ์ COVID-19  การพัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคจึงมีความสำคัญมากขึ้นแต่สิ่งสำคัญที่ต้องควบคู่ไปด้วยกันคือการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่หลากหลายอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Regional152.php